เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง
คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ อธิบายว่า
การพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร
คือ การพูดหว่านล้อม พูดเลียบเคียง พูดเลียบเคียงอย่างดี การพูดยกย่อง
พูดยกย่องอย่างดี การพูดผูกพัน พูดผูกพันอย่างดี การพูดอวดอ้าง พูดอวดอ้าง
อย่างดี การพูดคำเป็นที่รัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้คนรัก ความเป็นผู้พูดเหลวไหล
ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะไค้ (กัดกินเนื้อหลังของผู้อื่น) ความเป็นผู้
พูดอ่อนหวาน พูดไพเราะ พูดปลูกไมตรี เป็นผู้ไม่พูดคำหยาบแก่คนอื่น ของภิกษุ
ผู้มั่นหมายลาภ สักการะ และความสรรเสริญ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ เห็นแก่อามิส หนักในโลกธรรม นี้ตรัสเรียกว่า การพูดเลียบเคียง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุพูดเลียบเคียงกับคนด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ (1) เมื่อวางตนต่ำ
ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน (2) เมื่อยกตนสูง วางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน
ภิกษุเมื่อวางตนต่ำยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่ฉัน ฉันอาศัยพวกท่านแล้ว ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยพวกท่าน เห็น
แก่ท่าน คนเหล่าอื่นจึงสำคัญเพื่อให้ หรือเพื่อทำแก่ฉัน ชื่อเก่า ที่บิดามารดาตั้งให้
ฉันก็เลือนหายไปแล้ว ฉันมีคนรู้จักก็เพราะพวกท่านว่า เป็นพระประจำตระกูล
ของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสิกาโน้น ภิกษุชื่อว่าวางตนต่ำ
ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างนี้บ้าง
ภิกษุเมื่อยกตนสูงวางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุกล่าวว่า ฉันมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันแล้วก็ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด
จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจาก
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ฉันให้อุทเทส ให้ปริปุจฉาแก่พวกท่าน บอกอุโบสถ
อำนวยการนวกรรมแก่พวกท่าน ก็แต่พวกท่านทอดทิ้งฉันแล้วไปสักการะ ทำความ
เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น ภิกษุชื่อว่ายกตนสูงวางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน เป็น
อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :464 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ อธิบายว่า ภิกษุมุ่ง
หวังลาภ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย
เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งการเกิดแห่งลาภโดยเฉพาะ คือ พึงละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการพูดเลียบเคียง ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น
เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดเลียบเคียง มีใจเป็น
อิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย
ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหน ๆ
ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน
เพราะอยากได้ลาภ
[165] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้
ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง

ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด
เป็นผู้โอ้อวด เธอย่อมอวด โอ้อวดว่า "เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วยวัตร
บ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลพรตบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์
ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์
ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์
ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้คง
แก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวช
จากตระกูลมีโภคสมบัติมากบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง
เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติบ้าง"

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :465 }